ผลEXIT POLL -หลังปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 15.00น.ของสวนดุสิตโพลล์ ระบุว่า พรรคเพื่อไทยได้ 313 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 152 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 13 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง ชูวิทย์ 3 ที่นั่ง

สำหรับจำนวนส.ส.ในเขตกรุงเทพฯ 33 ที่นั่ง เพื่อไทยได้ 28 ที่นั่ง ประช่าธิปัตย์ 5 ที่นั่ง

ขณะที่ABAC POLL ให้เพื่อไทยได้ 299 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 132 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 28 ที่นั่ง ชาติพัฒนา 14 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 12 ที่นั่ง พลังชล 6 ที่นั่ง ชูวิทย์ 4 ที่นั่ง

ม.ศรีปทุม เปิดเผยผลEXIT POLLต่างออกไป คือเพื่อไทย 279 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 146 ที่นั่ง

หากแม้แต่ออกมาตามโพลล์ของม.ศรีปทุมก็ชนะเกินกึ่งหนึ่งคือ 250 ที่นั่ง

ส่วนNIDA POLL ให้เพื่อไทยได้ระหว่าง 235-275 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตามผลเลือกตั้งที่มีการนับคะแนนจริงออกมาปรรากฎว่าEXIT POLLคลาดเคลื่อนมากพอสมควร โดยคะแนนอย่างไม่เป็นทางการนั้นเพื่อไทยได้ 264 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ 160 ที่นั่ง ที่คลาดเคลื่อนที่สุดคือผลเลือกตั้งในกรุงเทพฯที่แทบทุกสำนักให้EXIT POLLแก่เพื่อไทยชนะขาด27-28ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้เพียง5-6 ที่นั่ง แต่ผลออกมาจริงประชาธิปัตย์ชนนะ23ที่นั่ง เพื่อไทยได้เพียง 10 ที่นั่ง

บรรดานักทำโพลล์อธิบายว่าอาจเป็นเพราะในการสุ่มสำรวจนั้น ผู้ออกสิทธิ์เลือกตั้งไม่ได้พูดความจริงกับคนทำโพลล์ ขณะที่คนเสื้อแดงวิจารณ์ว่า อาจมีการโกงเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯหรือไม่ เพราะพลิกผันไปจากEXIT POLLทุกสำนัก ทำไมพวกทำโพลล์จะผิดพลาดได้พร้อมกันขนาดนี้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวต่อสื่อมวลชนที่กรูกันรุมล้อมว่าอยากรอดูผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนก่อน ส่วนโฆษกพรรคประชาธปิตย์แถลงขอบคุณหลังทราบผลEIT POLL แต่อยากรอผลที่เป็นทางการก่อน ส่วนพรรคภูมิใจไทยแจ้งของดแถลงข่าว จากเดิมนัดแถลงข่าวหลังปิดหีบ (ภาพ:แฟ้มภาพ)

จุดพลุฉลอง-คนเสื้อแดงนัดหมายฉลองชัยทั่วทั้งโลก โดยในต่างประเทศมีนัดหมายรวมพลลุ้นผลเลือกตั้งนับจากเวลาเที่ยงวันที่หลายรัฐในอเมริกา ที่ยุโรปรวมตัวกันที่เยอรมนี ส่วนในไทยมีนัดหมายกันที่ทำการพรรคเพื่อไทย และเตรียมฉลองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงค่ำ (ภาพ:แฟ้มภาพไทยอีนิวส์)
ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ
          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย 
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" 
          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์
วรรณยุกต์และการผันวรรณยุกต์
ประโยชน์ของวรรณยุกต์คือช่วยทำให้คำมีความหมายมากขึ้น แตกต่างจากภาษาของชาติอื่น ๆ เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า (เสียงนี้มี 4 ความหมาย) กล่าวคือ
ปา หมายถึง ขว้างปา
ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์
ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่
ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
        ต่างจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่านักเรียนจะออกเสียง dog สูงต่ำอย่างไร ความหมายคงเดิม

[แก้ไข] วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง

วรรณยุกต์มีรูป ดังนี้
ภาพ:ไม้เอก.JPGภาพ:โท.JPGภาพ:ไม้ตรี.JPGภาพ:ไม้จัตวา.JPG
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
  1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
  2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
  3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
  4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
  5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว

[แก้ไข] การผันวรรณยุกต์

        ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ




วรรณยุกต์ เอก
วรรณยุกต์ โท
วรรณยุกต์ ตรี
วรรณยุกต์ จัตวา
โดยลำดับ และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้าย เช่น
        ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
        ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
        รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
        ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
        ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น




มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
        ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
        วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3

[แก้ไข] เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้

  • พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ
  • คำตาย ผันได้ 3 คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

[แก้ไข] วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์         วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์ นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้ อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำ พยัญชนะเสียงสูง
ภาพ:การผัน.JPG
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา         เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก        เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท         เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์จัตวา พยัญชนะเสียงกลาง :
ภาพ:กลาง1.JPG
คำเป็น ผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย         พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ






Website counter



เสียงวรรณยุกต์  
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
 รูป           -                            ่                ้                        ๊                     ๋
        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น
        ตัวอย่างการผันอักษร     

 
สามัญ
 เอก 
โท
ตรี
จัตวา
อักษรกลางคำเป็น
กา 
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลางคำตาย  
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น   
-  
ข่า
ข้า
 -   
 ขา      
อักษรสูงคำตาย             
-  
ขะ 
  ข้ะ    
-   
 -  
อักษรต่ำคำเป็น
        คา         
-       
   ค่า     
  ค้า     
-
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น   
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ   
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว
-  
โนต 
โน้ต 
โน๋ต    

        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น          


 เสียงสามัญ  
 เสียงเอก
เสียงโท   
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรสูง
 -   
ข่า  
ข้า
-
ขา
อักษรต่ำ (คู่)
คา
 -
ค่า
ค้า
-

       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น
                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี
 
เด็ก © 2011 | Designed by Chica Blogger, in collaboration with Uncharted 3, MW3 Forum and Angry Birds Online