วรรณยุกต์และการผันวรรณยุกต์
ประโยชน์ของวรรณยุกต์คือช่วยทำให้คำมีความหมายมากขึ้น แตกต่างจากภาษาของชาติอื่น ๆ เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า (เสียงนี้มี 4 ความหมาย) กล่าวคือ
ปา หมายถึง ขว้างปา
ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์
ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่
ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
        ต่างจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่านักเรียนจะออกเสียง dog สูงต่ำอย่างไร ความหมายคงเดิม

[แก้ไข] วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง

วรรณยุกต์มีรูป ดังนี้
ภาพ:ไม้เอก.JPGภาพ:โท.JPGภาพ:ไม้ตรี.JPGภาพ:ไม้จัตวา.JPG
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
  1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
  2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
  3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
  4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
  5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว

[แก้ไข] การผันวรรณยุกต์

        ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ




วรรณยุกต์ เอก
วรรณยุกต์ โท
วรรณยุกต์ ตรี
วรรณยุกต์ จัตวา
โดยลำดับ และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้าย เช่น
        ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
        ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
        รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
        ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
        ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น




มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
        ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
        วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3

[แก้ไข] เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้

  • พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ
  • คำตาย ผันได้ 3 คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ

[แก้ไข] วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์         วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์ นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้ อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ โท คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำ พยัญชนะเสียงสูง
ภาพ:การผัน.JPG
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา         เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก        เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท         เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์จัตวา พยัญชนะเสียงกลาง :
ภาพ:กลาง1.JPG
คำเป็น ผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ คำเป็น         พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก        เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย         พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โท        เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี        เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา        เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ






Website counter



เสียงวรรณยุกต์  
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
 รูป           -                            ่                ้                        ๊                     ๋
        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น
        ตัวอย่างการผันอักษร     

 
สามัญ
 เอก 
โท
ตรี
จัตวา
อักษรกลางคำเป็น
กา 
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลางคำตาย  
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น   
-  
ข่า
ข้า
 -   
 ขา      
อักษรสูงคำตาย             
-  
ขะ 
  ข้ะ    
-   
 -  
อักษรต่ำคำเป็น
        คา         
-       
   ค่า     
  ค้า     
-
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น   
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ   
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว
-  
โนต 
โน้ต 
โน๋ต    

        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น          


 เสียงสามัญ  
 เสียงเอก
เสียงโท   
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรสูง
 -   
ข่า  
ข้า
-
ขา
อักษรต่ำ (คู่)
คา
 -
ค่า
ค้า
-

       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น
                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
ทรงศึกษาในโรงเรียนราชกุมารตั้งแต่ก่อนโสกันต์จนถึงพระชนมายุได้ 13 ปี 4 เดือน  เป็นที่น่าอัศจรรย์ด้วยว่าพระชนมายุยังน้อย ทว่าทรงมีความรู้กว้างขวางในภาษาไทยยิ่งนัก

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เมื่อยังทรงพระเยาว์ เจ้าพระยาจักรีได้ขอเอาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและได้ตั้งชื่อว่า สิน พออายุได้ 9 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส เรียนหนังสือขอมไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วเรียนคัมภีร์พระไตรปิฏก

ประวัติการเมืองการปกครองไทย
จากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานตำนานต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งมั่นอยู่แล้วทางภาคเหนือของดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
ในระยะเริ่มแรกของสงคราม กองทัพญี่ปุ่นมีชัยชนะทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ทำให้รัฐมนตรีบางคนเห็นควรให้ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ด้วยคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงครามไทยจึงได้ประกาศ สงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485
 
บิดาแห่งกฎหมายไทย บิดาแห่งกฎหมายไทยได้ทรงวางวิถีสุจริต สัมมาปฎิบัติ เป็นแนวทางไว้ดีแล้ว อนุชนผู้เป็นนักกฎหมาย จักได้ดำเนินตามเบื้อง พระบาทยุคลโดยเสด็จในปณิธาน."ชีวิตฉันคือการับใช้ประชาชน"

คนเดือนตุลาฯ2516
14
ตุลาคม 2516 นักเรียน นิสิตนักศึกษาและ ประชาชนประกาศ สู้ตายและยืนยันที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ หลักประกัน แห่งสิทธิและ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย ท่ามกลางหมอกควันของแกสน้ำตา ห่ากระสุน ปืนและรถถัง ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตกับสองมือที่ ว่างเปล่า... ลืมตาย...!

คณะราษฎร์
สิทธิ เสรีภาพ ภาราดรภาพ

พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และกวีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ทรงใช้พระนามแฝงว่า น.ม.ส ทรงนิพนธ์เรื่องสำคัญๆ ไว้หลายเรื่อง เช่น จดหมายจางวางหร่ำ พระนลคำฉันท์ นิทานเวตาล


พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
ช่วงเวลาระหว่างอยู่ในเพศบรรพชิต พระองค์ทรงมีเวลาศึกษาศิลปะวิทยาการหลายแขนง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โหราศาสตร์ ภาษาบาลี จนทรงมีความรอบรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง ทรงรอบรู้แตกฉานในพุทธศาสนาทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
พังพระกาฬในประวัติศาสตร์ศรีวิชัย
การล่วงรู้ความลับของจักรวาล และความเป็นไปในโลกอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกล้วนแต่ถูกปรุงแต่งแปลงสภาพมาจาก ระบบธาตุในโลก กับ คลื่นพลังแสงดาวในจักรวาลคลุกเคล้าเข้ากับอากาศธาตุ
การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี เช่น การแบ่งยุคตามลักษณะวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ทำเครื่องมือ และลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ การแบ่งยุคตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคม
กว่าจะมาเป็นไทยประเทศไทยมิใช่แหล่งที่เพียงแต่รับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นเท่านั้น แต่เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วย
สุนทรภู
สุนทรภู่ เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงและความเป็นเอกในเชิงกลอน ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โดยได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม หรือนัยหนึ่งเป็นกวีเอกของโลก เมื่อ พ.ศ. 2529

ด้วยรัก
วันที่ประชาชนชาวไทยตื่นเต้นโสมนัส
ยินดีเป็นล้นพ้น เป็นวันที่พวกเขาได้รอคอย
ให้มาถึง และก็ได้มาถึงแล้วณ วันนี้.
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา แม้นผู้ใดปรารถนาจักได้ซาบซึ้งถึงพระราชการุณยธรรมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐพระองค์นั้น ว่ายิ่งใหญ่ล้นเหลือปานใดอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็ขอจงเพ่งพิศใน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้พระราชธิดาพระองค์นี้เถิด พระกัลยาณวัตรอัธยาศัยอันงดงาม
ประวัติศาสตร์รถยนต์ไทย
รถยนต์เป็นเทคโนโลยี่ของศตวรรษที่ 20 เข้ามาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่าคนที่สั่งรถยนต์เข้ามาใช้ในประเทศไทยคนแรกเป็นชาวต่างชาติ   ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อใด
ปฎิวัติ ร.ศ. 130ปฐมบทแรกแห่งการปฎิวัติโค่นล้มลัทธิการปกครองอรุณรุ่งแห่ง ประชาธิปไตยที่เป็นได้แค่เพียงความฝันลมๆแล้งๆของสามัญชนกลุ่มหนึ่ง ผู้ไม่เคยได้รับการขนานนาม

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
ทรงศึกษาในโรงเรียนราชกุมารตั้งแต่ก่อนโสกันต์จนถึงพระชนมายุได้ 13 ปี 4 เดือน  เป็นที่น่าอัศจรรย์ด้วยว่าพระชนมายุยังน้อย ทว่าทรงมีความรู้กว้างขวางในภาษาไทยยิ่งนัก

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เมื่อยังทรงพระเยาว์ เจ้าพระยาจักรีได้ขอเอาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและได้ตั้งชื่อว่า สิน พออายุได้ 9 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส เรียนหนังสือขอมไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วเรียนคัมภีร์พระไตรปิฏก

ประวัติการเมืองการปกครองไทย
จากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานตำนานต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งมั่นอยู่แล้วทางภาคเหนือของดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
ในระยะเริ่มแรกของสงคราม กองทัพญี่ปุ่นมีชัยชนะทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ทำให้รัฐมนตรีบางคนเห็นควรให้ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ด้วยคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงครามไทยจึงได้ประกาศ สงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485
 
บิดาแห่งกฎหมายไทย บิดาแห่งกฎหมายไทยได้ทรงวางวิถีสุจริต สัมมาปฎิบัติ เป็นแนวทางไว้ดีแล้ว อนุชนผู้เป็นนักกฎหมาย จักได้ดำเนินตามเบื้อง พระบาทยุคลโดยเสด็จในปณิธาน."ชีวิตฉันคือการับใช้ประชาชน"

คนเดือนตุลาฯ2516
14
ตุลาคม 2516 นักเรียน นิสิตนักศึกษาและ ประชาชนประกาศ สู้ตายและยืนยันที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ หลักประกัน แห่งสิทธิและ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย ท่ามกลางหมอกควันของแกสน้ำตา ห่ากระสุน ปืนและรถถัง ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตกับสองมือที่ ว่างเปล่า... ลืมตาย...!

คณะราษฎร์
สิทธิ เสรีภาพ ภาราดรภาพ

พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และกวีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ทรงใช้พระนามแฝงว่า น.ม.ส ทรงนิพนธ์เรื่องสำคัญๆ ไว้หลายเรื่อง เช่น จดหมายจางวางหร่ำ พระนลคำฉันท์ นิทานเวตาล


พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
ช่วงเวลาระหว่างอยู่ในเพศบรรพชิต พระองค์ทรงมีเวลาศึกษาศิลปะวิทยาการหลายแขนง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โหราศาสตร์ ภาษาบาลี จนทรงมีความรอบรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง ทรงรอบรู้แตกฉานในพุทธศาสนาทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
พังพระกาฬในประวัติศาสตร์ศรีวิชัย
การล่วงรู้ความลับของจักรวาล และความเป็นไปในโลกอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกล้วนแต่ถูกปรุงแต่งแปลงสภาพมาจาก ระบบธาตุในโลก กับ คลื่นพลังแสงดาวในจักรวาลคลุกเคล้าเข้ากับอากาศธาตุ
การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี เช่น การแบ่งยุคตามลักษณะวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ทำเครื่องมือ และลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ การแบ่งยุคตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคม
กว่าจะมาเป็นไทยประเทศไทยมิใช่แหล่งที่เพียงแต่รับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นเท่านั้น แต่เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วย
สุนทรภู
สุนทรภู่ เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงและความเป็นเอกในเชิงกลอน ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โดยได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม หรือนัยหนึ่งเป็นกวีเอกของโลก เมื่อ พ.ศ. 2529

ด้วยรัก
วันที่ประชาชนชาวไทยตื่นเต้นโสมนัส
ยินดีเป็นล้นพ้น เป็นวันที่พวกเขาได้รอคอย
ให้มาถึง และก็ได้มาถึงแล้วณ วันนี้.
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา แม้นผู้ใดปรารถนาจักได้ซาบซึ้งถึงพระราชการุณยธรรมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐพระองค์นั้น ว่ายิ่งใหญ่ล้นเหลือปานใดอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็ขอจงเพ่งพิศใน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้พระราชธิดาพระองค์นี้เถิด พระกัลยาณวัตรอัธยาศัยอันงดงาม
ประวัติศาสตร์รถยนต์ไทย
รถยนต์เป็นเทคโนโลยี่ของศตวรรษที่ 20 เข้ามาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่าคนที่สั่งรถยนต์เข้ามาใช้ในประเทศไทยคนแรกเป็นชาวต่างชาติ   ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อใด
ปฎิวัติ ร.ศ. 130ปฐมบทแรกแห่งการปฎิวัติโค่นล้มลัทธิการปกครองอรุณรุ่งแห่ง ประชาธิปไตยที่เป็นได้แค่เพียงความฝันลมๆแล้งๆของสามัญชนกลุ่มหนึ่ง ผู้ไม่เคยได้รับการขนานนาม
 
เด็ก © 2011 | Designed by Chica Blogger, in collaboration with Uncharted 3, MW3 Forum and Angry Birds Online