-
- ปา หมายถึง ขว้างปา
- ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์
- ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่
- ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
- ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
[แก้ไข] วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง
วรรณยุกต์มีรูป ดังนี้เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
- เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
- เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
- เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
- เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
- เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
[แก้ไข] การผันวรรณยุกต์
ผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1.วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่เบื้องบนอักษร มีอยู่ 4 รูปคือ
ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตัวที่ 2 เช่น
ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูป กากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน
ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น
2.วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3
[แก้ไข] เสียงของการผันวรรณยุกต์ เราแบ่งได้ดังนี้
- พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์
- คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
- คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ
- คำตาย ผันได้ 3 คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
2.คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น