เสียงวรรณยุกต์  
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
 รูป           -                            ่                ้                        ๊                     ๋
        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น
        ตัวอย่างการผันอักษร     

 
สามัญ
 เอก 
โท
ตรี
จัตวา
อักษรกลางคำเป็น
กา 
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลางคำตาย  
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น   
-  
ข่า
ข้า
 -   
 ขา      
อักษรสูงคำตาย             
-  
ขะ 
  ข้ะ    
-   
 -  
อักษรต่ำคำเป็น
        คา         
-       
   ค่า     
  ค้า     
-
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น   
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ   
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว
-  
โนต 
โน้ต 
โน๋ต    

        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น          


 เสียงสามัญ  
 เสียงเอก
เสียงโท   
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรสูง
 -   
ข่า  
ข้า
-
ขา
อักษรต่ำ (คู่)
คา
 -
ค่า
ค้า
-

       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น
                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
เด็ก © 2011 | Designed by Chica Blogger, in collaboration with Uncharted 3, MW3 Forum and Angry Birds Online